[title heading=”4″ align=”left”]การปลูกยางพารา อายุ 1 ปี ให้มีลำต้นสูงกว่า 3 เมตร และทนแล้ง[/title]
บริษัท เอสพีฟาร์ม กาฬสินธุ์ จำกัด โดยปุ๋ยตราปลานิลทอง และ ปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก ได้ศึกษาและทดลองปลูกยางพาราแปลงสาธิตที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งต้นยางพาราอายุ 1 ปีมีลำต้นสูงกว่า 3 เมตร แทงฉัตรไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ใบเขียวเข้ม เขียวทนทนแล้ง ไม่ทิ้งใบตลอดปี แทงฉัตรต่อเนื่อง
ปุ๋ยตราปลานิลทองและปุ๋ยตราอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก ขอแนะนำขั้นตอนการปลูกดังนี้
- การวัดแนวปลูกระหว่างแถว 7 เมตร ระหว่างต้น 3 เมตร
- การขุดหลุมเตรียมปลูก ให้ขุดหลุมกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร
- ให้แยกดินส่วนที่เป็นหน้าดินไว้อีกด้านหนึ่ง และให้แยกดินก้นหลุมไว้อีกด้านหนึ่ง ห้ามปนกัน
- ให้นำปุ๋ยตราปลานิลทองหรือปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก ประมาณ 2 ขีด หรือ 1 กำมือ มาคลุกเคล้ากันกับดินส่วนที่เป็นหน้าดินทั้งหมด ให้กวาดลงสู่ก้นหลุมจนหมดแล้วให้กวาดดินก้นหลุมตามลงหลุมจนหมด
- ให้นำต้นกล้ายางพารามาปลูกในหลุมที่เตรียมดินแล้วเรียบร้อย
- เมื่อยางพารามีอายุ 30-45 วันให้ดายหญ้ากำจัดวัชพืช เพื่อเตรียมใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1
- ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สำหรับยางพาราเล็ก
– ให้ขุดดินและห่างจากโคนต้นยาง เป็นวงกลมรอบโคนต้น 25 เซนติเมตร(ครึ่งศอก)
– ให้ใส่ปุ๋ยตามรอยขุดโดยใช้ปุ๋ยตราปลานิลทอง หรือปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลกแล้วทำการกลบปุ๋ย - ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 สำหรับยางพาราเล็ก ให้นับจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 45 วัน หรือ กลางฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม –สิงหาคม ของทุกปี
– ให้ดายหญ้ากำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
– ให้ขุดดินและห่างจากโคนต้นเป็นวงกลมรอบโคนต้นยางพารา 50 เซนติเมตร(หรือ 1 ศอก) เพราะรากของต้นยางพาราจะยาวออกมามากกว่าครั้งที่ 1
– ให้ใส่ปุ๋ยตามรอยขุดโดยใช้ปุ๋ยตราปลานิลทอง หรือปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลกแล้วทำการกลบปุ๋ยกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยตราปลานิลทองครั้งที่ 2 - ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 สำหรับยางพาราเล็ก ให้นับจากใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 มา 45 วันหรือใส่ปุ๋ยช่วงปลายฤดูฝน ระหว่างเดือนกันยายน –ตุลาคมของทุกปี ขั้นตอนการใส่ปุ๋ยและวิธีการใส่ปุ๋ย เหมือนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
อายุยางพาราเล็ก 6 เดือน
หมายเหตุ ถ้าเกษตรกรปลูกยางพาราต้นฤดูฝน สามารถใส่ปุ๋ยตราปลานิลทอง หรือ ปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก ได้ถึง 3 ครั้ง ต่อปีจะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้สม่ำเสมอกันทุกต้น ที่สำคัญต้นยางพาราเล็กจะแทงรากลงได้ลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร ทำให้พอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีผลกระทบต่อต้นยางพารา ยางพาราไม่ตายและไม่ทิ้งใบตลอดฤดูแล้ง ที่สำคัญถ้าเกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยตราปลานิลทอง หรือ ปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก 3 ครั้งต่อปี จากปีที่ 1 ถึงปีที่ 7 ต้นยางพาราจะสมบูรณ์ ขนาดลำต้นสูงสม่ำเสมอกันและเกษตรกรจะเปิดกรีดยางพาราได้พร้อมกันทุกต้น
[title heading=”4″ align=”left”]ยางพาราเปิดกรีด[/title]
ยางพารา เปิดกรีดที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยตราปลานิลทอง หรือ ปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลกตั้งแต่แรก อาจจะประสบกับปัญหาน้ำยางออกน้อย หรือกิ่งยางพาราตายเป็นกิ่งๆหรือยอดยางพาราได้ตาย หรือบางส่วนหน้ายางตายนึ่ง
ปุ๋ย ตราปลานิลทอง หรือ ปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก เรามีคำแนะนำให้เกษตรกรที่เกิดปัญหาดังกล่าว ใช้ปุ๋ยน้ำควิกรับเบอร์ ตราปลานิลทอง ใช้ทาหน้ายางทุก 15 วันต่อครั้ง ในวันที่เรางดกรีดยางจะทำให้ต้นยางได้รับธาตุอาหารโดยตรง และรวดเร็วก่อนการให้ของรากจะทำให้ผลเร็วขึ้นเราแนะนำให้ใช้ปุ๋ยน้ำควิกรับ เบอร์ร่วมกับปุ๋ยตราปลานิลทอง หรือ ปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก จะเป็นสองแรงบวก เพื่อให้ยางพาราได้รับธาตุอาหารหลักและอาหารรองได้เร็วขึ้นและเพียงพอต่อ ความต้องการของพืช
ปัญหา น้ำยางออกน้อย หรือลำต้นยืนตาย กิ่งตาย และน้ำยางตายนึ่งจะหมดไปและยังทำให้หน้ายางนิ่ม ใบดกหนาเขียวตลอดปี ที่สำคัญน้ำยางพาราจะข้นขึ้น โดยน้ำยางพารา 4 ลิตร ทำแผ่นยางได้ 1 กิโลกรัม 3 ขีด ต่อแผ่น ส่วนยางถ้วยจะทำให้ยางถ้วยมีน้ำหนักมากกว่าเดิม
ปริมาณ การใส่ปุ๋ยยางเปิดกรีด สำหรับยางอายุ 5 ปีขึ้นไป ใช้ปุ๋ยตราปลานิลทอง 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ต่อครั้งหรือ ใช้ปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่เหยียบโลก 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ต่อครั้ง
วิธีการใส่ปุ๋ยตราปลานิลทองหรือปุ๋ยตรานกอินทรีย์แดงคู่สูตรพืชไร่ไม้ผล
ปีที่ | อัตราส่วนที่ใช้ | ||
---|---|---|---|
ครั้งที่ 1 ช่วงต้นฤดูฝน |
ครั้งที่ 2 ช่วงกลางฤดูฝน |
ครั้งที่ 3 ช่วงปลายฤดูฝน |
|
ยางชำถุง | ช้อนชาต่อ 1 ถุง ทุกๆ 10 – 15 วัน | ||
1 | 300 กรัม/ต้น | 300 กรัม/ต้น | 300 กรัม/ต้น |
2 | 500 กรัม/ต้น | 500 กรัม/ต้น | 500 กรัม/ต้น |
3 | 700 กรัม/ต้น | 700 กรัม/ต้น | 700 กรัม/ต้น |
4 | 1 กิโลกรัม/ต้น | 1 กิโลกรัม/ต้น | 1 กิโลกรัม/ต้น |
5 | 1-2 กิโลกรัม/ต้น | 1-2 กิโลกรัม/ต้น | 1-2 กิโลกรัม/ต้น |
6ปีขึ้นไป | 1-3 กิโลกรัม/ต้น | 1-3 กิโลกรัม/ต้น | 1-3 กิโลกรัม/ต้น |
หมายเหตุ อัตราใช้ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน